วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

คุณสมบัติ 8 ประการสู่ความสำเร็จ

ในการที่จะเล่นกีฬาให้ชำนาญจนมีความสามารถเป็นที่ยอมรับกัน และจนถึงขนาดชนะได้รางวัลนั้น นอกจากผู้เล่นจะต้องมีทักษะพื้นฐาน
ที่ดีแล้ว ยังต้องฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมออีกด้วย จะเห็นว่าผู้ประสบความสำเร็จและเป็นผู้ชนะมักจะมีสไตล์ในการเล่นที่แตกต่างกัน
ไม่มีสไตล์ไหนที่ชนะตลอดหรือแพ้ตลอด
ในการลงทุนก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องพยายามหาสไตล์การเล่นที่เหมาะกับตัวเราและมีความเชื่อมั่นว่าจะทำให้เราชนะในเกมการลงทุน และค่อยๆ พัฒนาจนมีสไตล์ของตนเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร ใครจะรู้ สไตล์การลงทุนของตัวคุณเองอาจจะประสบ
ความสำเร็จอย่างสูงในอนาคตก็ได้ นักลงทุนระดับ “ปรมาจารย์” ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีคุณสมบัติที่เหมือนๆ กันอยู่ 8 ประการด้วยกัน คือ
 
คุณสมบัติ #1 : มีความรอบรู้ (Breadth)
จากการศึกษาพบว่าผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุนมักมีความกระตือรือร้น สนใจเรื่องราวต่างๆ รอบตัว นอกจากข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงแล้ว พวกเขายังให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น George Soros มีความสนใจเรื่องปรัชญาและได้เข้าไปทำกิจกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับโลกด้วย นักลงทุนที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจที่หลากหลาย ไม่ตีกรอบตัวเองอยู่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะในโลกทุกวันนี้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันสูงมาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีกโลกหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อ
ประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวาง แม้แต่ประเทศที่อยู่ในอีกซีกโลกหนึ่งก็อาจได้รับผลกระทบอย่างมากและรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง เช่น
กรณีวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ที่เกิดกับประเทศไทย ปี 2540 นั้นได้ส่งผลสะเทือนต่อระบบการเงินไปทั่วโลก เป็นต้น
 
คุณสมบัติ #2 : ช่างสังเกต (Observation)
นักลงทุนที่ดีควรจะสวมวิญญาณนักสืบ เป็นคนที่ช่างสังเกต ใส่ใจในรายละเอียด รวมทั้งต้องจดจำข้อมูลที่สำคัญๆ ของหุ้นต่างๆ ได้
ยิ่งคุณจำรายละเอียดได้มากเท่าใด คุณจะยิ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะ รวมทั้งประเมินผลกระทบภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าคนอื่น กล่าวกันว่า Warren Buffet นั้น เป็นคนช่างสังเกตและสามารถจดจำรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ของบริษัทที่เขาไปลงทุนได้มากมายอย่างน่าทึ่ง ราวกับว่าตัวเขาเป็นเหมือน “สารานุกรมเคลื่อนที่” ทีเดียว
 
คุณสมบัติ #3 : ไม่มีอคติ (Objectivity) 
นักจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นเป็น “สัตว์สังคม” เมื่อได้มารวมกลุ่มกันเข้าแล้ว เพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาทางสังคมกับผู้อื่น จึงมี
ความโน้มเอียงที่จะตัดสินใจทำเรื่องต่างๆ ในลักษณะที่คล้อยตามกระแสที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกัน ทำให้เกิดพฤติกรรม “สัญชาติญาณ
ฝูงสัตว์” (herd instinct) เหมือนกับสัตว์ต่างๆ ที่มักจะคล้อยตามจ่าฝูง นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีความคิดที่เป็นอิสระ และไม่ยอมให้ความคิดของตัวเองถูกครอบงำโดยกระแสของคนส่วนใหญ่ เพราะว่าความผิดพลาดเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนกลายเป็นพฤติกรรมที่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้า
 
คุณสมบัติ #4 : รักษาวินัย (Discipline) 
นักลงทุนจะต้องมีความอดทนในการรอคอย เพราะโอกาสดีๆ หรือความคิดดีๆ สำหรับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้น
ทุกวัน เช่น Warren Buffet ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวินัยในการลงทุนสูงมาก เขาเคยบอกว่าเคล็ด (ไม่) ลับของความสำเร็จในการลงทุน
ของเขาก็คือต้องรู้จักอดทนอดกลั้น รอคอยโอกาส ไม่ตัดสินใจตามกระแส และเมื่อโอกาสนั้นมาถึงต้อง “หวดให้สุดแรง” (ภาษา
นักเบสบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่คนอเมริกันชอบมาก) เพราะโอกาสดีๆ ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตของคนเรานั้น มีไม่บ่อยครั้งนัก
 
คุณสมบัติ #5 : มีความลึก (Depth) 
โดยปกติ “ความลึก” จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเรามีสมาธิ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเพ่งความคิดให้แน่วแน่อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (focus) และสามารถคิดได้อย่างมีอิสระ Soros จะไม่ยอมให้มีใครรบกวนเลยเวลาที่เขาทำการซื้อขายอยู่ แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงเพราะมีข่าวใหญ่บางอย่างเข้ามากระทบ เขาก็ยังไม่ยอมให้ใครคนไหนเข้าพบเพื่อมาสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบให้ฟัง จนกว่าเขาจะได้ “จัดการ” กับการลงทุนของเขาให้เรียบร้อยเสียก่อน
 
คุณสมบัติ #6 : มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 
ในการลงทุน นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สำคัญต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันด้วย มิฉะนั้นเขาจะไม่สามารถคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อลดทอนความเสียหายได้
 
คุณสมบัติ #7 : มีฉันทะในสิ่งที่ทำ (Passion) 
นักลงทุนระดับปรมาจารย์ทุกคน “รัก” อาชีพการลงทุน พวกเขามีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ทำมากกว่าจะคิดเรื่องของผลตอบแทน
ที่ได้ Warren Buffet เคยพูดว่าตัวเขาเองว่า...Enjoy the process rather than the proceeds… รู้สึกสนุกกับการทำให้ “ได้ผล” มากกว่าจะคำนึงถึง “ผลได้”
 
คุณสมบัติ #8 : มีความยืดหยุ่น (Flexibility) 
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น ต้องเปิดใจพร้อมที่จะยอมรับข้อมูลใหม่ๆ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขารู้ดีว่าการที่ยึดติดกับความคิด/ความเชื่อบางอย่างตายตัวเกินไปอาจเป็นการโยนทิ้งโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามา (ตกเครื่องบิน) หรือทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการลงทุน (เครื่องบินตก) ก็ได้ ประเด็นก็คือ นักลงทุนที่ประสบกับความสำเร็จ
จะต้องกล้าที่จะยอมรับความจริง ถ้าหากพบว่ามีการตัดสินใจผิดพลาดก็ต้องยอม “ตัดขาดทุน” (cut losses) เสียแต่เนิ่นๆ แต่เมื่อตัดสินใจถูกต้องแล้ว ก็ต้องรู้จักปล่อยให้ “กำไรเพิ่มพูน” (run profits) ด้วยการไม่รีบขายหุ้นนั้นทิ้งไปด้วย
 
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมีอยู่คล้ายกัน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการลงทุนเพื่ออิสรภาพทางการเงิน
ในอนาคต สามารถนำคุณสมบัติเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนของตนเอง และหากสนใจที่จะเรียนรู้กลยุทธ์การลงทุน และการบริหารเงินส่วนบุคคล ไม่ควรพลาดหนังสือชุด อยากรวย ต้องรู้ เคล็ด (ไม่) ลับ สู่....อิสรภาพทางการเงิน ทั้ง 4 เล่ม จากตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เคล็ดลับการลงทุนสไตล์... ปรมาจารย์

ว่ากันว่า... “การลงทุน” คล้ายกับการเล่นกีฬา เพราะการเล่นกีฬาจะประสบความสำเร็จได้ชัยชนะนั้น
ต้องมีความชำนาญ ทักษะพื้นฐานที่ดี ต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ “การลงทุน” ที่เราต้องขยันเรียนรู้
และอดทนที่จะค้นหาแนวทางลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง ซึ่งเคล็ดลับการลงทุนด้านล่างนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กำลัง
สนใจลงทุนหรือกำลังลงทุนอยู่
มีความรอบรู้ (Breadth) ต้องมีความกระตือรือร้นสนใจเรื่องราวต่างๆ รอบตัว และนอกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
   กับการลงทุนโดยตรงแล้ว ยังต้องให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆ ด้วย
ช่างสังเกต (Observation) ต้องช่างสังเกต ใส่ใจรายละเอียด และจดจำข้อมูลที่สำคัญๆ ได้ ซึ่งจะทำให้
   สามารถวิเคราะห์ และประเมินผลกระทบภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าคนอื่น
รักษาวินัย (Discipline) ต้องรู้จักอดทน อดกลั้น รอคอยจังหวะและโอกาส ไม่ตัดสินใจตามกระแส มีความมั่นคง
   ในหลักการและวิธีการลงทุนของตนเอง หากไม่มีวินัยและไม่มีใจหนักแน่นพอ ก็อาจถูกชักจูงไปในทางที่ก่อให้เกิด    ความเสียหายได้ง่ายๆ
มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ต้องมองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ และสามารถประติดประต่อ
   ข้อมูลเหล่านั้นจนมองเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ ได้ เช่น สภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย เศรษฐกิจโลก ฯลฯ
มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ต้องเตรียมใจให้พร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในด้านดีและไม่ดีได้ทุกเมื่อ
   เปิดใจพร้อมที่จะยอมรับข้อมูลใหม่ๆ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับความคิดหรือความเชื่อ    บางอย่างตายตัวเกินไป

เส้นทางสู่ความมั่งคั่งใน 4 ขั้นตอน

เส้นทางที่จะนำพาคุณไปสู่ความมั่งคั่งอย่างที่ฝันไว้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่
  1. สร้างความมั่งคั่ง โดยวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายชีวิต
    • วางแผนออมเงิน
    • วางแผนใช้จ่ายเงิน
    • วางแผนหนี้สิน
  2. เพิ่มพูนความมั่งคั่ง
    • วางแผนการลงทุน
    • วางแผนภาษี
  3. ปกป้องความมั่งคั่ง
    • วางแผนประกัน
    • วางแผนเกษียณ
  4. ส่งมอบความมั่งคั่ง
    • วางแผนมรดก

รายได้จากทรัพย์สิน

รายได้จากทรัพย์สิน หมายถึง รายได้หรือดอกผลที่มาจากทรัพย์สินลงทุนต่าง ๆ เช่น
  • ดอกเบี้ย (เงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้)
  • เงินปันผล (หุ้นสหกรณ์ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์)
  • กำไรจากการลงทุน(หุ้น หน่วยลงทุนในกองทุนรวม)
  • ค่าเช่า(บ้าน อาคาร ที่ดิน)
  • กำไรจากทรัพย์สินที่เพิ่มค่า(ทองคำ ของสะสม เช่น ภาพวาด หนังสือหายาก)
  • ค่าลิขสิทธิ์(ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น งานเขียน)
  • รายได้จากการลงทุนทำกิจการของตนเอง

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

7 ขั้นตอนสู่ทางด่วนทางการเงิน

  1. เริ่มทำธุรกิจเพื่อตัวเองเสียที
    • โดยการกรอกตัวเลขในงบงานเงินเพื่อที่จะได้รู้ว่าเราอยู่ตรงไหน มีหนี้มาก หรือมีทรัพย์สินมาก
    • ตั้งเป้าหมายทางการเงินภายใน 5 ปี
      • ลดหนี้ลงจำนวน.....บาท
      • เพิ่มกระแสเงินสดจำนวน....บาทต่อเดือนโดยที่ไม่ต้องทำงาน
      • ลงทุนในทรัพย์สิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ธุรกิจ
      • นำเป้าหมายมาทำงบกำไรขาดทุน และงบดุล
  2. ควบคุมกระแสเงินสด
    • ทบทวนงบการเงิน
    • ตัดสินใจว่าวันนี้ต้องการมีรายได้จากด้านไหน
    • ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีรายได้จากด้านไหน
    • เริ่มต้นวางแผนควบคุมกระแสเงินสด
    • จ่ายเงินให้ตัวเองก่อน
    • ลดหนี้สิน
    • นำเงินที่เคยจ่ายหนี้สินไปลงทุน
  3. ความแตกต่างของ "เสียง" และ "น่าเสียง"
    • อ่านข่าวธุรกิจรายวัน
    • ฟัง ดูรายการเกี่ยวกับธุรกิจ
    • อ่านนิตยสารการเงิน
  4. คุณต้องการเป็นนักลงทุนประเภทใด
    • นักลงทุนประเภทมองหาปัญหา
    • นักลงทุนประเภทมองหาคำตอบ
    • นักลงทุนประเภทไม่รู้อะไรเลย
    • หาความรู้เกี่ยวกับการลงทุน เข้าสัมนา มองหาอสังหารัมทรัพย์ อ่านหนังสือ ดูรายการธุรกิจ
  5. มองหาครูฝึก
    • หาแบบอย่าง
    • หาชื่อหกคนที่ใช้เวลาอยู่ด้วยมากที่สุด
    • ชื่อทั้งหกมีรายได้จากด้านไหน
    • เปลี่ยนแปลงตัวเอง
  6. ความผิดหวังคือพลังใจ
    • หวังไว้เลยว่าต้องผิดหวัง คนโง่เท่านั้นที่หวังไว้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามที่ต้องการ ควรวางแผนเตรียมการกับปัญหาไว้
    • เตรียมที่ปรึกษาไว้
    • ให้อภัยตัวเอง ความรู้สึกเจ็บปวดรุนแรงเมื่อผิดหวังหรือล้มเหลวไม่ได้มาจากคำพูดของผู้อื่น  แต่มาจากการที่เราลงโทษตัวเอง เราโกรธตัวเอง เจ็บใจ เสียใจ
    • ควบคุมอารมณ์ตัวเอง อย่าปล่อยให้อารมณ์ โกรธ ฉุนเฉียว ท้อแท้ ผิดหวัง ฉุดลงเหว
    • ลงมือทำ
  7. พลังศรัทธา เชื่อมั่นในตัวเอง แล้วลงมือทำวันนี้